Posts Tagged กำเนิดหมู่บ้านไทย

กำเนิดหมู่บ้านไทย

กำเนิดหมู่บ้านไทย

ที่อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ลักษณะที่อยู่อาศัยของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างตามสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวด ล้อม ภูมิอากาศ ตลอดจนวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประเทศไทย

ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของคนไทยที่เห็นได้ ชัดเจน เช่น ภาคกลางพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน ภาคเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ฯลฯ ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ทำให้เกิดหมู่บ้านไทยในหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งหมู่บ้านริมน้ำ หมู่บ้านริมทาง หมู่บ้านดอน หมู่บ้านเชิงเขา ฯลฯ

ลักษณะหมู่บ้านไทย

โดยทั่วไปหมู่บ้านไทยที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ

1. ลักษณะหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง

โดยทั่วไปสภาพของหมู่จะเกิดการรวมตัวกันขึ้นโดยธรรมชาติตามลักษณะสภาพ ภูมิศาสตร์ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ สำหรับประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะนอกจากใช้เพื่อการเพาะปลูกแล้ว น้ำยังมีความจำเป็นสำหรับกิน อาบและเป็นเส้นทางคมนาคมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย

การคมนาคมสมัยก่อนมีทั้งทางบกและทางน้ำ แต่โดยทั่วไปเส้นทางสัญจรที่สะดวกและนิยมมากที่สุดคือทางน้ำ ด้วยความสะดวกนี้จึงทำให้หมู่บ้านเกิดขึ้นตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือที่เรียกว่า “หมู่บ้านริมน้ำ”

หมู่บ้านริมน้ำนี้มักมีชื่อขึ้นต้นคำว่า “บาง” ซึ่งในที่นี้หมายถึง หมู่บ้านหรือร้านค้าซึ่งปลูกเรียงรายไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้ทะเล เช่น บางกอกน้อย บางปลาม้า บางปะกอก ฯลฯ

เมื่อหมู่บ้านกำเนิดขึ้นแล้วสิ่งจำเป็นอื่นๆ ก็มักเกิดตามมาภายหลังได้แก่ ตลาด วัด สำหรับตลาดนั้นเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เช่น ครอบครัวหนึ่งมีข้าวก็นำมาแลกกับเสื้อผ้า เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทน

ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นผลทำให้เกิดร้านแม่น้ำลำคลองขึ้น หมู่บ้านที่เกิดขึ้นนี้มักมีลักษณะยาวติดต่อกันไปตามความยาวของลำคลองหรือ แม่น้ำ ส่วนพื้นที่ด้านหลังมักเป็นสวน และถัดจากสวนจะเป็นทุ่งนาหรือไร่

หมู่บ้านลักษณะนี้มักมีการขยายตัวไปตามความยาวของลำน้ำ ซึ่งทำให้ยากต่อการพัฒนาและการปกครอง ดังนั้น ภายในหมู่บ้านจึงมี “วัด” เป็นศูนย์กลางและมีอิทธิพลในการประสานยึดเหนี่ยวให้หมู่บ้านดำรงอยู่อย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน

หมู่บ้านริมน้ำดังกล่าวนี้ถ้ามีปริมาณมาก และขยายตัวโดยมีขอบเขตและคันคูแล้ว

จะกลายเป็นเมืองซึ่งมีลักษณะเรียกว่า “เมืองอกแตก” ที่หมายถึง เมืองที่มีแม่น้ำหรือลำคลองขนาดใหญ่ผ่านกลาง เช่น เมืองพิษณุโลก เป็นต้น

;แต่ถ้าเป็นหมู่บ้านที่เกิดขึ้นริมทาง ซึ่งในสมัยก่อนใช้เกวียนเป็นยานพาหนะทางบก และมีสัตว์พวกช้าง ม้า วัว ควายเป็นตัวลากจูง การเดินทางจึงมีขีดจำกัดตามกำลังความสามารถของสัตว์เหล่านั้น หากระยะทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไกลเกินกำลังของสัตว์ ไม่สามารถไปถึงจุดหมายภายในหนึ่งวัน ก็จำเป็นต้องพักแรม พอรุ่งเช้าจึงเดินทางต่อ

บริเวณที่เกวียนมาหยุดพักแรมนี้ มักมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นมาปลูกเพิงขายอาหารและสิ่งของเครื่อง ใช้แก่ผู้ที่สัญจรไปมารวมทั้งหาสิ่งของมาแลกเปลี่ยนด้วย ต่อมาเมื่อกิจการค้าเจริญขึ้นจึงมีชาวบ้านมาปลูกเพิงขายของเพิ่มมากขึ้นตาม ลำดับ เพิงคว้าขายเหล่านี้จึงขยายออกไปตามแนวยาวและเพิ่มจากหนึ่งแถวเป็นสองแถว

และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้อยู่อาศัยมีความคุ้นเคยกับสถานที่บริเวณนั้นมากขึ้น จึงได้ปลูกเป็นเรือนถาวรขึ้นแทนเพิงค้าขาย โดยจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่พักอาศัยและอีกส่วนหนึ่งเป็นที่ค้าขาย เมื่อจำนวนหลังคาเรือนมากขึ้นจึงกลายเป็นหมู่บ้านไปในที่สุด โดยด้านหลังของหมู่บ้านมักเป็นเรือกสวนไร่นา คล้ายๆ กับหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง

2. ลักษณะหมู่บ้านดอน

กรณีที่ไร่นาอยู่ห่างจากแม่น้ำลำคลอง ก็อาจมีหมู่บ้านเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่บริเวณที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้านมักตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งสูงกว่าไร่นา ชาวบ้านจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และแยกย้ายกันออกไปทำนา

ในหมู่บ้านมักมีสระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่เพื่อไว้กินไว้ใช้ ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมนั้นจะได้มาจากน้ำฝนและน้ำบ่าในเดือน 11 และ 12 หมู่บ้านลักษณะนี้เรียกว่า “บ้านหรือดอน” เช่น บ้านโป่งลาน บ้านทับกระดาน บ้านโพธิ์ ดอนกลาง ดอนเจดีย์ เป็นต้น

3. ลักษณะหมู่บ้านกระจัดกระจาย

หมู่บ้านลักษณะนี้เกิดจากการวมตัวของบ้านเรือนหลายๆ หลัง ซึ่งแต่ละหลังจะอยู่อย่างกระจัดกระจายและโดดเดี่ยว กล่าวคืออยู่เป็นหลังๆ ห่างกันมาก โดยทั่วไปแล้วเรือนแต่ละหลังมักตั้งอยู่ในที่นาหรือที่สวนของตนเอง หมู่บ้านลักษณะนี้จะลำบากต่อการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากหมู่บ้านในบางส่วนของภาคกลาง ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี และความสัมพันธ์ฉันเครือญาติของหมู่บ้านจะไม้เข้มข้นเท่าหมู่บ้านลักษณะ อื่นๆ

ข้อมูลนำมาจาก
http://www.bansongthai.com

ให้ความเห็น